วันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

บทอาขยาน

บทอาขยานผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บทอาขยาน
แมวเหมียว  แยกเขี้ยวยิงฟัน (ป.1)
แมวเอ๋ย แมวเหมียว
รูปร่าง ประเปรียว เป็นหนักหนา
ร้องเรียก เหมียวเหมียว ประเดี๋ยวก็มา
เคล้าแข้ง เคล้าขา น่าเอ็นดู
รู้จัก เอารัก เข้าต่อตั้ง
ค่ำค่ำ ซ้ำนั่ง ระวังหนู
ควรนับว่ามัน กตัญญู
พอดู อย่างไว้ ใส่ใจเอย

มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก

มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดกผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก
พุทธศาสนิกชนชาวไทยนับถือกันมาแต่ครั้งโบราณว่า มหาเวศสันดรเป็นชาดกที่สำคัญกว่าชาดกเรื่องอื่น เพราะว่าด้วยเรื่องราวที่ปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์อยู่โดยบนิบูรณ์ทั้ง ๑๐ บารมี

นอกจากนี้ยังมีผู้นำมหาเวสสันดรชาดกไปแต่งเป็นภาษาไทยอีกหลายสำนวน และใช้คำประพันธ์หลายชนิด เช่น กลอน ฉันท์ กาพย์ ลิลิต และร้อยแก้ว รวมทั้งยังมีมหาเวสสันดรชาดกที่เป็นภาษาถิ่นอีกหลายฉบับ อ่านเพิ่มเติม

มงคลสูตรคำฉันท์

มงคลสูตรคำฉันท์ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มงคลสูตรคำฉันท์
มงคลสูตรคำฉันท์  เป็นวรรณคดี  คำสอน  ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรม ที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่ ไพเราะ  มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย  สามารถจดจำได้ง่าย  มงคลสูตรคำฉันท์นี้จะเกิดแต่ตัวเราเองได้ก็ต้องเป็นผลมาจากการประพฤติ ปฏิบัติดีของตนเองเท่านั้น  หาได้มาจากปัจจัยอื่นเลย อ่านเพิ่มเติม

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ทุกข์ของชาวนาในบทกวีผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
    บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดย นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านเพิ่มเติม

หัวใจชายหนุ่ม

หัวใจชายหนุ่ม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หัวใจชายหนุ่ม
หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ ดุสิตสมิตเมื่อ พ..๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน อ่านเพิ่มเติม

นิราศนรินทร์คำโคลง

 นิราศนรินทร์คำโคลง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นิราศนรินทร์คำโคลง
 นิราศ เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้นคือ โคลงนิราศหริภุญชัย ซึ่งแต่งในสมัยกรุง อ่านเพิ่มเติม

วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

นิทานเวตาลเรื่องที่10

นิทานเวตาลเรื่องที่10นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า “เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ
                  ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์   อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461 อ่านเพิ่ม

วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง  อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน ทั้งความ และทั้งกระบวนการที่ตะเล่นละครประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี ในทางที่ตะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นเมืองของชาวชวา  เอกสารที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ อ่านเพิ่มเติม

คำนมัสการคุณานุคุณ

คำนมัสการคุณานุคุณคำนมัสการคุณานุคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  อ่านเพิ่มเติม

การวิจักษ์วรรณคดี

การวิจักษ์วรรณคดี

วรรณคดีเป็นหนังสือซึ่งแต่งดี  มีคุณค่าด้านเนื้อหาสาระ และคุณค่าทางวรรณศิลป์ การที่จะนิยมหรือยอมรับว่า หนังสือเรื่องใดแต่งดีหรือมีคุณค่า ผู้อ่านต้องสนใจใคร่รู้และควรอ่านอย่างไตร่ตรองให้ถ่องแท้ เพื่อจะได้เข้าใจในเรื่องราวและได้รับอรรถรสของบทประพันธ์ โดยผู้อ่านอาจจะพิจารณาว่า หนังสือเล่มนั้นมีเรื่องราวและเนื้อหาสาระอย่างไร มีคุณค่าและความงามในด้านใด การอ่านในลักษณะนี้เรียกว่าการอ่านวิจักษ์ซึ่งเป็นพื้นฐานของการวิเคราะห์ การวิจารณ์ และการประเมินคุณค่าของวรรณคดี   อ่านเพิ่มเติม